ความสำคัญของหนังสือเดินทาง Passport

ความสำคัญของหนังสือเดินทาง Passport

ความสำคัญของหนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทางมีความสำคัญเช่นเดียวกับบัตรประจำตัวประชาชน เวลาเราเดินทางไปต่างประเทศ เพราะเป็นเอกสารที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศ
โดยมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือหนังสือเดินทางที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นที่ยอมรับของนานาชาติเวลาเราเดินทางไปต่างประเทศ หากไม่มีหนังสือเดินทางเราจะไม่สามารถ
ออกเดินทางไปต่างประเทศได้ตามกฎหมาย นอกจากนี้หนังสือเดินทางยังถูกใช้เป็นเอกสารประจำตัวที่สำคัญในการทำธุรกรรมที่ต่างประเทศด้วย เช่นยื่นขอวีซ่า
จองตั๋วโดยสาร เช่าซื้อที่พักหรือยานพาหนะ หรือใช้เป็นเอกสารแสดงตัวตนของเราตามที่กฎหมายระหว่างประเทศรับรอง

หนังสือเดินทางมีอายุการใช้งานกี่ปี

สำหรับหนังสือเดินทางของไทยเราจะมีอายุใช้งานได้ถึง 5 ปี  นับตั้งแต่วันที่ออกเล่ม (ปัจจุบันมีแบบ 10 ปีให้ทำแล้ว)

หนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือน หมายความว่าอย่างไร

มีหลายคนสับสนระหว่างประโยคที่ว่า หนังสือเดินทางที่อายุไม่ถึง 6 เดือน กับหนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือน อันที่จริงผมคิดว่าบริษัททัวร์อาจจะเลือกใช้
ประโยคไม่ถูก เลยทำให้คนที่ฟังข้อความเกิดความสับสนก็เป็นได้ ส่วนตัวผมคิดว่าทั้งสองประโยคดังกล่าวข้างต้นน่าจะหมายถึงหนังสือเดินทางที่ใช้มาแล้วหลายปี
และใกล้จะสิ้นสุดอายุการใช้งานภายในหกเดือน ซึ่งเวลาบริษัททัวร์ทั้งหลายแจ้งลูกค้าที่มาจองทัวร์ให้เตรียมเอกสารอย่างหนึ่งที่ทางทัวร์จะเน้นย้ำก็คือ หนังสือเดินทาง
ต้องมีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือน โดยนับจากวันที่เราต้องใช้หนังสือเดินทางในการเดินทาง ยกตัวอย่าง ท่านต้องเดินทางวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559
หนังสือเดินทางของท่านต้องไม่หมดอายุก่อนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 หรือ ท่านต้องเดินทางวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 หนังสือเดินทางของท่าน
ต้องไม่หมดอายุก่อนวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ( สังเกตในหน้าแรกของหนังสือเดินทางจะมีคำว่าวันที่หมดอายุ xxxxx Expire Date xxxx)

หนังสือเดินทางที่หมดอายุ สามารถนำไปต่ออายุได้หรือไม่

ปัจจุบันทางแผนกกงสุลจะไม่ทำการต่ออายุให้หนังสือเดินทางที่หมดอายุหรือใกล้จะหมดอายุแล้ว โดยจะทำเล่มใหม่ให้เราแทน

หนังสือเดินทางชำรุดที่ไม่สามารถใช้งานได้

หนังสือเดินทางที่ชำรุดหมายถึงหนังสือเดินทางที่หน้าแรกของหนังสือเดินทาง(หน้าที่มีข้อมูลส่วนตัว เช่น รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล วันเดือน ปี เกิด วันออกเล่ม
และวันหมดอายุของหนังสอเดินทาง)มีรอยฉีกขาด รอยขูดขีด รอยขีดฆ่า หรือแต้มสีจนไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดส่วนใดส่วนหนึ่งได้ชัดเจน

หรือหน้าใดหน้าหนึ่งในเล่มหนังสือเดินทางฉีกขาดหรือขาดหายจนรายละเอียดบางส่วนหายไป (เช่น ตราวีซ่า ตราเข้า ออกประเทศที่ประทับโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง)
ซึ่งที่กล่าวข้างต้นล้วนถือเป็นหนังสือเดินทางที่ชำรุดที่ไม่สามารถใช้เดินทางไปต่างประเทศได้ หมายเหตุ สนามบินนานาชาติทุกแห่งจะมีเจ้าหน้าที่ขององการบินระหว่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางเล่มไหนเป็นหนังสือเดินทางชำรุดที่ไม่สามารถใช้เดินทางได้

ทำไมหนังสือเดินทางทีมีอายุไม่ถึงหกเดือนจึงไม่สามารถใช้เดินทางได้

ข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งโดยหน่วยงานใดไม่แน่ใจ แต่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าหนังสือเดินทางทุกประเทศที่มีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือนถือว่าเป็นหนังสือเดินทางที่หมดอายุ
และไม่สามารถใช้เดินทางได้ เหตุผลน่าจะเกี่ยวกับอายุของวีซ่าของหลายประเทศอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับการอนุมัติวีซ่าให้เข้าประเทศและพำนักในประเทศได้เป็นเวลา 6 เดือน
หรือกฎหมายเกี่ยวกับตรวจคนเข้าเมืองของหลายประเทศที่ที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางประเทศสามารถเข้าประเทศและพำนักในประเทศได้เป็นเวลา 6 เดือน ดังนั้น
ถ้าหนังสือเดินทางของเราจะหมดอายุเดือนตุลาคม แต่วีซ่าของเราอยู่ได้ถึงเดือนธันวาคม มันจะเกิดข้อขัดแย้งทางกฎหมายภายหลังได้

หากทำหนังสือเดินทางหายระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ ต้องทำไง

เป็นเรื่องยุ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับทุก ๆ คน มันยุ่งจริง ๆ ครับพี่น้อง ก่อนอื่นต้องรีบไปแจ้งความที่สถานีตำรวจโดยอาจต้องให้ล่ามหรือไกด์พาเราไป
จากนั้นต้องรีบไปแจ้งเจ้าหน้าที่สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยในเมืองนั้น หรือถ้าไม่มีก็ต้องไปหาสถานกงสุลไทย หรือสถานทูตไทยที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุที่สุด
(ต้องบอกว่าเมืองที่เราไปใช่ว่าจะมีสถานกงสุลไทยประจำเมืองนั้น) เมื่อทางเจ้าหน้าที่กงสุลรับเรื่องแล้วเราต้องเป็นฝ่ายรอให้เจ้าหน้าที่กงสุลออกเอกสารแทนหนังสือเดินทางให้เรา
ซึ่งจะใช้เวลามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสถานกงสุลแต่ละแห่ง วัน เวลาทำการของเขาด้วย เมื่อได้รับเอกสารจากสถานกงสุลแล้ว เราจึงสามารถไปจองตั๋วเพื่อนเดินทางกลับ
ประเทศได้ ถ้าคุณเดินทางไปกับกรุ๊ปทัวร์ และทำหนังสือเดินทางหายระหว่างเดินทาง นอกจากจะยุ่งวุ่นวายกับเอกสารแล้ว ท่านอาจต้องเตรียมใจกับค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารที่พัก
ระหว่างรอเอกสาร และค่าตั๋วเครื่องบินที่อาจต้องซื้อใหม่ในราคาแพงสุด ๆ เพราะทัวร์ส่วนใหญ่จะซื้อตั๋วราคาโปรโมชั่นให้คณะทัวร์ใช้เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศเพราะประหยัด
ค่าใช้จ่าย และตั๋วโปรโมชั่นมักมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงวันเดินทางไม่ได้ เมื่อท่านไม่สามารถกลับพร้อมคณะตามกำหนดเนื่องจากหนังสือเดินทางหาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ท่านต้อง
ซื้อตั๋วใบใหม่เพื่อเดินทางกลับบ้านเป็นแน่
หมายเหตุ ทุกครั้งที่เดินทางไปต่างประเทศท่านควรถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางเก็บติดตัว และติดกระเป๋าไว้หลาย ๆ ชุดเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเบื้องต้น
เวลาหนังสือเดินทางสูญหายระหว่างเดินทาง อีกทั้งเตรียมเบอร์โทรศัพท์ของสถานกงสุลไทยในเมืองต่าง ๆ (ในต่างประเทศที่เราเดินทางไป) จะเป็นประโยชน์มากในยามฉุกเฉิน

หนังสือเดินทางทำได้ที่ไหน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ทำได้ที่สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง ใช้แค่บัตรประชาชน หรือ สูติบัตรฉบับจริง 

ทำหนังสือเดินทางกี่วันถึงจะได้ ทำแบบด่วนได้หรือไม่

-รับด้วยตนเอง 2 วันทำการ (สำหรับผู้ที่ยื่นคำร้องที่กรุงเทพ)
-รอรับทางไปรษณีย์ EMS 5-7 วันทำการ (สำหรับผู้ที่ยื่นคำร้องต่างจังหวัดและผู้ที่ยื่นคำร้องที่กรุงเทพ)

หนังสือเดินทางแบบด่วน

1. การทำหนังสือเดินทาง ที่จะได้รับเล่มภายในวันเดียวต้องยื่นทำหนังสือเดินทาง ที่กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ โดยเสียค่าธรรมเนียม 3,000 บาท
ต้องยื่นเอกสารและชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายใน 12.00 น. (ขอให้มายื่นคำร้องก่อนเวลา 11.30 น.เพื่อที่จะได้ ทำคำร้องเสร็จสิ้นก่อนเวลา 12.00 น.)
และสามารถรับเล่มที่ฝ่ายจ่ายเล่มกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะได้ตั้งแต่เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป

2. การทำหนังสือเดินทาง ได้รับเล่มในวันรุ่งขึ้นกรณีที่ยื่นคำร้องในเวลา 12.00 น. ที่กรมการกงศุล และสำนักงานหนังสือเดินทางฯ ทุกแห่ง
ขอรับเล่มได้เฉพาะที่ฝ่ายจ่ายเล่ม กรมการกงสุล ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ของวันทำการถัดไป คิดอัตราค่าธรรมเนียมจำนวนทั้งสิ้น 2,000 บาท
หรือในกรณียื่นคำร้องหลังเวลา 12.00 น. ที่กรมการกงสุล และสำนักงานหนังสือเดินทางฯ ทุกแห่ง ขอรับเล่มได้ที่ฝ่ายจ่ายเล่ม กรมการกงสุล
ตั้งแต่เวลา 12.00-16.30 น. ของวันทำการถัดไป คิดอัตราค่าธรรมเนียมจำนวนทั้งสิ้น 2,000 บาท
(หมายเหตุ : การทำพาสปอร์ตเร่งด่วนในข้อ (2) ให้บริการที่กรมการกงสุล สํานักงานหนังสือเดินทางฯ บางนา-ศรีนครินทร์, สํานักงานหนังสือเดินทางฯ ปิ่นเกล้า,
สํานักงานหนังสือเดินทางฯ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ และ สํานักงานหนังสือเดินทางฯ ต่างจังหวัด 14 แห่ง ยกเว้น สำนักงานศูนย์บริการฯ
กระทรวงแรงงาน และหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่)

อายุเท่าไหร่ถึงจะทำหนังสือเดินทางได้

บุคคลบรรลุนิติภาวะอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ ใช้บัตรประชาชนฉบับจริงเพื่อยื่นคำขอทำหนังสือเดินทางได้เลย

ผู้เยาว์อายุตํ่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคําขอ และในการพิจารณาอนุญาต
1. เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใชกรณีผู้เยาว์ (อายุตํ่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์)เอกสารลําดับที่ 1 บัตรประจําตัวประชาชนของผู้เยาว์ (ฉบับจริง) ที่ยังมีอายุการใชงาน
หรือ เอกสาร ลําดับที่ 2 สูติบัตร (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์และยังไม่ได ทําบัตรประจําตัวประชาชน)พร้อมกับเอกสารลําดับที่ 4 บัตรประจําตัว
ประชาชนของบิดา และเอกสารลําดับที่ 5 บัตรประจําตัวประชาชนของมารดา (หากบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดาหรือมารดา
แล้วแต่กรณี) โดยบิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันรับคําร้องเว้นแต่เข้ากรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 1.1- 1.6

1.1 กรณีบิดาหรือมารดา หรือทั้งสอง ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ให้บุคคลที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทําหนังสอยินยอม
ให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศจากอําเภอ สํานักงานเขตหรือสํานักทะเบียนท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย สถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่บิดาหรือมารดา
อยู่ในต่างประเทศ ***เฉพาะกรณีผู้เยาว์อายุตํ่ากว่า 15 ปี บริบูรณ์ที่บิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ให้ทําหนังสอมอบอํานาจ
(เอกสารลําดับที่ 8) จากอําเภอ สํานักงานเขต หรือสํานักทะเบียนท้องถิ่นหรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่บิดาหรือมารดาอยู่ใน
ต่างประเทศให้ผู้อื่น (ที่บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป) เป็นผู้พาผู้เยาว์ มายื่นคําร้องขอทําหนังสอเดินทางเพิ่มเติมจากหนังสอยินยอมฯ ข้างต้น พร้อม
บัตรประชาชนผู้รับมอบอํานาจ

1.2 กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดามารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียวพร้อมกับ บันทึกคําให้การ
รับรองการปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอําเภอ สํานักงานเขต หรือสํานักทะเบียนท้องถิ่น และบัตรประจําตัวประชาชนของมารดา
1.3 กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าบิดาหรือมารดาที่ระบุให้เป็นผู้ใชอํานาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวในบันทึกการหย่า สามารถเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ
ได้ฝ่ายเดียว พร้อมบัตรประจําตัวประชาชนของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี
1.4 กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม และบัตรประจําตัวประชาชนของ
ผู้รับบุตรบุญธรรม (เอกสารลําดับที่่ 6)
1.5 กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตมาลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่ง และบัตรประชาชน
ของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี
1.6 กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคําสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอํานาจปกครอง เช่น (ก) กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต (ข) กรณีบิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียน
สมรสและไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ (ค) กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาโดยตลอด และ
ไม่สามารถติดต่อมารดาได้ให้ผู้ปกครองที่มีชื่อระบุตามคําสงศาลเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับคําสั่งศาลฯ และบัตรประจําตัวประชาชนผู้มีอํานาจปกครอง
ตามคําสั่งศาล (เอกสารลําดับที่ 6)
หมายเหตุ : หากผู้มีอํานาจปกครองตามข้อ 1.2 ข้อ 1.3 ข้อ 1.4 ข้อ 1.5 และข้อ 1.6 ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ให้บุคคลดังกล่าว
ทําหนังสือให้ความยินยอมตามข้อ 1.1

จองผ่านไลน์
ติดต่อข่าวสารโปรโมชั่นทัวร์